ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทย


 คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดยเริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ซึ่งติดตั้งที่คณะ
             พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และใช้ในการทำสำมะโนประชากร โดยใช้เครื่อง IBM 1401 ซึ่งติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
             ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติจากนั้นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีใช้ในประเทศไทย ตามลำดับดังนี้       

พ.ศ. 2507 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย
กับ ธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. 2517 : ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่ตลาดหลักทรัพย์ ในด้านการซื้อขาย โดย
ใช้ มินิคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2522 : ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
พ.ศ. 2525 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย
โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย                                                                                               

ขอบคุณ  กลุ่มนักศึกษาชั้นปวส.1.3 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนพัฒนบริหารธุรกิจ (PBAC)                        

คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่

ตอบ  คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้ครับ เช่น
1. ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น 
         จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ส่วนสาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์เป็นจำนวนมาก หรือเกิด แบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot failure Please insert system disk and please anykey to continue 
        สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป 
2. ปัญหาที่เกิดจากซีพียู 
           ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็นเหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถานเดียว
          ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว
3. RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB. เอง 
           อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS 

4. ไดรว์ซีดีรอม อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอ แก้ปัญหาอย่างไร 
            ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดร์ฟซีดีรอมตัวใหม่ ๆ ค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดร์ฟซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือประมาณ 1 ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็นำมันเข้าไปอ่านในไดร์ฟ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรองอาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน 
5. ปัญหาของซีดีออดิโอ 
            ถ้าคุณเล่นซีดีออดิโอใน CD Writer แล้ว Windows Media หรือ CD Playar แสดงข้อความ "Please insert an audio compact disk" หรือ Data or no disk loaded อาจมีสาเหตุมาจากไดรเวอร์ วิธีแก้คือ ให้เปิด Control Panel เลือก Sound &Multimedia คลิก Devices ดับเบิลคลิก ที่ Media Control Devices และ CD Audio Devices (Media Control) คลิก Remove และ Yes คลิก OK เพื่อปิด หน้าต่างทั้งหมดและบูตเครื่องใหม่ 
6. อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้แผ่น CD-ROM เล่นเพลงจนแผ่นแตก 
            กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วค่ะ เรื่องไดร์ฟ CD-ROM ทำแผ่นแตก ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดร์ฟ ที่ผลิตในปัจจุบันมีความเร็วสูง ทำให้เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอยขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุดเป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่งปัญหานี้เราจะไม่พบในไดร์ฟรุ่นเก่า ๆ เลย ทางแก้ก็คือหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำ หรือแผ่นที่เป็นรอยมาก ๆ 
7. แบตเตอรี่เสื่อมทำอะไรกับเครื่องคุณได้บ้าง 
            บางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาปรากฎว่าเจอกับข้อความ "CMOS CHECKSUM ERROR" หรือไม่เมื่อเราใช้เครื่องคอมฯ ไปเรื่อย ๆ จะสังเกตเห็นว่านาฬิกาของเครื่องดูเหมือนจะเดินช้าลงนั่น แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ที่อยู่ในเมนบอร์ดของเรากำลังจะหมด และถ้ายังคงใช้งานต่อไปโดยไม่หา แบตเตอรี่มาเปลี่ยนก็จะทำให้ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ใน BIOS SETUP หายไปได้ อย่างเช่นค่าของ ฮาร์ดดิสก์ว่า เป็นชนิดอะไร ทำให้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เราจะต้องตั้งค่าเหล่านี้ใหม่ทุกครั้ง 

8. Disk Boot Failure 
            สาเหตุอาจเกิดจาก เกิดจากคุณอาจลืมแผ่นดิสที่บูทไม่ได้ไว้ในไดร์ฟ A: หรือ แผ่น CD ไว้ในไดร์ฟ CD (กรณีตั้งซีมอสให้บูทที่ซีดีได้) หรือเกิดจากฮาร์ดดิสที่เป็นตัวบูท C: ไม่สามารถใช้งาน ได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าในซีมอสทำให้ไม่ตรงรุ่นของฮาร์ดิส
            การแก้ปัญหา
            
1.   ตัว Harddisk มีจานแม่เหล็กที่มีผิวเสียหายมากไม่สามรถใช้งานได้อีกต่อไป 
            2.   ขณะที่ทำการ Scandisk ใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือพบพื้นที่เสียหายมากและต่อเนื่องให้ยกเลิกไปทำการ Format แทน (แต่โอกาสที่จะใช้ได้มีน้อยมากเนื่องจากผิวจานแม่เหล็กเสียหายมาก) 
             3.   ตัวควบคุม Harddisk หรือสายแพรที่ใช้ต่อ Harddisk กับ Controler บน MainBoard เสียหรือเสื่อมสภาพ (จะมีโอกาสเกิดน้อยกว่าความเสียหายบนตัว Harddisk เอง) หลังจากทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วยังเกิดอาการดังกล่าวอีกให้ทำการ Format Harddisk ตัวนี้ โดยทำดังนี้ 
              1.   Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk 
            2.   เรียกคำสั่ง Format แบบเต็ม (Full Format) ดังนี้ โดยพิมพ์คำสั่งที่เอพร้อม a:/format c:/s และกด Enter และ ตอบ y และ Enter 
              3.   ในขณะที่ทำการ Format โปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของจานแม่เหล็กถ้าพบจุดเสียที่ใดก็จะทำการบันทึก ไว้ในตาราง FAT ของตัว Harddisk เพื่อไม่ให้โปรแกรม อื่นๆ นำพื้นที่นี้ไปใช้ได้อีก (จุดที่เสียจะเรียกว่า BAD Sector) 
              4.   จากนั้นก็สามารถนำไปลง OS Program ต่อไปได้ 
              5.   หากยังเกิดอาการดังกล่าวอีกแนะนำให้เปลี่ยนตัว Harddisk ค่ะ คงจะไม่ไหวแล้วจริงๆ 

9. Harddisk ไม่ทำงาน (ไม่มีเสียง Motor หมุน) 
            สาเหตุอาจเกิดจาก 
            1.   เกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงตัว Mortor และวงจรควบคุมตัว Mortor 
            2.   ตัวควบคุมการทำงาน (Controler) บนตัว Harddisk เสียหาย
            3.   สายบางเส้นที่ต่อจาก Harddisk กับตัวควบคุมบน Mainboard หลวมหรือหลุดหรือเกิดสนิม 
            การแก้ปัญหา 
           1.   ตรวจสอบสายต่อไฟเลี้ยงดูว่าแน่นหรือเกิดสนิมหรือเปล่า โดยการถอดออกมาแล้ว
ตรวจดูว่าเป็นปกติหรือไม่ แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ 
            2.   เปลี่ยนสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับตัว Harddisk เส้นใหม่ดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า 
            3.   ทดลองเปลี่ยนสายแพร หรือถอดออกดูก่อนแล้วเปิดเครื่องเพื่อดูว่าทำงานได้หรือเปล่า
           4.   อาจลองนำเอาสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับ CD-ROM Drive มาต่อดูก็จะรู้ได้ว่าสายจ่ายไฟเลี้ยงเสียหรือเปล่า 

10. Sector not fond error reading in drive C:
            สาเหตุอาจเกิดจาก 
            1.   ปัญหานี้จะคล้ายกับอาการ Data error reading in drive C: หรือ BAD Sector แต่ส่วนที่เกิดปัญหานี้จะเกิดกับส่วนของ File Allocation Table (FAT) ไม่ใช่ที่ตัวพื้นที่เก็บข้อมูลจริง 
            2.   ส่วนของฮาร์ดดิสที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ FAT มีปัญหาเช่นเกิดการเสื่อมของสารแม่เหล็กหรือเกิดรอยที่ผิวของจานแม่เหล็ก เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน 
            การแก้ปัญหา 
            1.   ทำเช่นเดียวกับปัญหา BAD Sector แต่ในส่วนโหมดของการ Scan ให้เลือกเป็นแบบ Standard ก็พอ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจในส่วนของ File Allocation Table (FAT) และ Folders และเมื่อโปรแกรมตรวจพบข้อผิดพลาดก็จะทำการซ่อมแซมค่าที่ผิดพลาดนั้นๆ ให้กลับเป็นปกติ หรืออาจบันทึกเป็นชื่ออื่นแต่ตัวข้อมูลจะยังอยู่ซึ่งเราต้องเข้าไปแก้ไขเองอีกครั้ง ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดก็ได้แก่ Cross link, Folders error ที่เกิดขึ้นในตาราง FAT ซึ่ง Files ที่มักจะสร้างปัญหาบ่อยๆ ก็ได้แก่ประเภทที่มีส่วนขยายเป็น TMP ซึ่งมักจะถูกเก็บอยู่ที่โฟเดอร์ชื่อ TEMP (c:\windows\temp) ซึ่ง Files เหล่านี้ จะถูกสร้างจากโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง ซึ่งผู้ใช้งานควรที่จะทำการลบ Files พวกนี้ทิ้งเป็นประจำ การลบ temp files ทำได้โดยการเข้าไปที่โฟรเดอร์ดังนี้ และทำการเลือกทุก files และกดปุ่ม DELETE ที่แป้นคีบอร์ด (C:/windows/temp/*.tmp) 
            2.   หากแก้ไขตามข้อแรกไม่ได้ผลควรที่จะทำการ Format ฮาร์ดดิสใหม่ และลงโปรแกรมใหม่เพื่อเป็นการจัดและเริ่มต้นระบบใหม่ซึ่งจะมีผลให้ความเร็วในการทำงานของเครื่องเพิ่มขึ้นด้วย ก่อนการทำการ Format ฮาร์ดดิสต้องแน่ใจว่าไม่มีความจำเป็นต้องรักษาข้อมูลบนตัวฮาร์ดดิส หรือได้สำรองข้อมูลที่สำคัญไว้ในสื่ออื่นๆ แล้ว การ Format ทำได้โดย Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk แล้วใช้คำสั่ง a:/format c:/s เพื่อทำการจัดเตรียมพื้นที่ใหม่ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของแผ่นจานเก็บข้อมูล และเมื่อไม่สามารถอ่านพื้นผิวบริเวณใดก็จะระบุตำแหน่งจุดที่เสียบนพื้นผิวเพื่อที่โปรแกรม Windows จะไม่ไปใช้พื้นที่นั้นในการเก็บข้อมูล 
            การป้องกันปัญหา: 
            1.   ทำการ Scandisk ทุกๆ สัปดาห์ 
            2.   ลบ temp files ใน Windows/temp ทิ้งให้หมดหลังจากการทำ Scandisk แล้ว (ก่อนทำการ Scandisk และ   ลบ temp file ทิ้ง ควรทำการปิดโปรแกรมทุกตัวก่อนทุกครั้ง) 
            3.   ใช้โปรแกรม Disk Cleanup ช่วยในการลบ files ที่ไม่จำเป็นทิ้งโดยเริ่มต้นที่ Start Menu/Programs/Accessories/System tools/Disk Cleanup จากนั้นทำเครื่องหมายถูกที่หน้า Temporary files 
11. Data Error Reading in Drive C: 
            สาเหตุอาจเกิดจาก เนื่องจากโปรแกรมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากผิวของตัวจานเก็บข้อมูลได้ 
            การแก้ปัญหา เรียกโปรแกรม Scandisk ขึ้นมาโดย
            1.   ดับเบิลคลิกที่ My Computer 
            2.   ชี้ mouse ไปที่ Drive ที่ต้องการจะทำการ Scan 
            3.   คลิกปุ่มขวาของ Mouse เลือก Properties 
            4.   เลือก TAB Tools 
            5.   กดปุ่ม [Check Now...] บน Windows Properties 
            6.   เลือกรูปแบบการ Scan เป็น [Thorough] 
            7.   ทำเครื่องหมายถูกหน้า Automatically fix errors 
            8.   เริ่มทำการ Scan โดยกดที่ปุ่ม Start 
           9.   เมื่อทำการ Scan จนเสร็จแล้วจะมีหน้าต่างแสดงค่าที่ทำการ Scan ให้ดู (ScanDisk Results- [c:] ให้สังเกตดูที่หัวข้อ bytes in bad sectors ถ้ามีตัวเลขขึ้นแสดงว่าโปรแกรม Scan ตรวจพบส่วนที่เสียหายของผิวจานแม่เหล็กของ Hardisk 
            10.  กดปุ่ม close เพื่อทำการปิดโปรแกรม ScanDisk 
            11.  ในขณะนี้โปรแกรม ScanDisk จะทำการตรวจสอบส่วนต่างๆ ของ Harddisk เรียบร้อยแล้วและได้ทำการทำเครื่องหมายบริเวณที่ไม่สามารถอ่านได้แล้วลงบนตารางแฟ็ท (FAT=File Allocation Tables), Folders หลังจากทำการ Scandisk เสร็จแล้วอาการดังกล่าวน่าจะหายไป
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.oknation.net/